top of page

รวมแนวทางในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่คนดูแลต้องรู้ พร้อมวิธีเตรียมใจในการรับมือ


การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อาจเป็นปัญหาที่หลายคนมักหนักใจ ไม่ใช่เพราะไม่อยากจะดูแลคนที่เรารัก แต่เป็นเพราะว่า อาการของโรคที่รุนแรง และยากต่อการรับมือ จึงทำเอาหลายคนต้องปวดใจเมื่อสมาชิกในครอบครัวต้องมาเป็นโรคนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคอัลไซเมอร์ ก็ไม่ถึงกับไม่มีวิธีในการรับมือ เพียงแต่ต้องใช้ความเข้าใจสักหน่อยก็เท่านั้น



โรคอัลไซเมอร์ คืออะไร

โรคอัลไซเมอร์ คือ ภาวะความจำเสื่อม ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากในเรื่องของความคิด ความจำ การควบคุมอารมณ์ และการตัดสินใจต่าง ๆ อย่างเช่น อาการหลงลืมวันเวลา พูดจาไม่เป็นภาษา ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ และไม่สามารถแยกแยะถูกผิด


โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากสาเหตุอะไร

โรคอัลไซเมอร์เกิดจากเซลล์ในสมองทุกส่วนเสื่อมสภาพลง โดยมีปัจจัยในการเกิดขึ้นได้จากหลายกรณี ทั้งการถ่ายทอดทางพันธุกรรม อายุที่เพิ่มมากขึ้น อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนทางสมอง หรือแม้แต่โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า และโรคหลอดเลือดสมอง


โรคอัลไซเมอร์ มีกี่ระยะ

โดยปกติแล้ว โรคนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ที่สามารถเริ่มสังเกตอาการในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ ซึ่งจะมีระดับความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนี้ 


  • สมองเสื่อมระยะแรก : ผู้ป่วยในระยะนี้ จะเริ่มไม่สามารถจดจำสิ่งใหม่ ๆ ได้ และเริ่มใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันนานขึ้นกว่าเดิม ไม่มีสมาธิในการทำงาน แต่ยังสามารถบอกความต้องการพื้นฐานได้

  • สมองเสื่อมระยะปานกลาง : ผู้ป่วยในระยะกลาง จะเริ่มมีอาการหนักขึ้น ไม่สามารถจำสถานที่ได้ เริ่มใช้ภาษาในการพูดไม่ถูกต้อง นึกคำพูดไม่ออก และอาการจะแย่ลงจนไม่สามารถจำชื่อคนสนิทได้ ซึ่งในระยะนี้ ผู้ป่วยจะแสดงอาการที่แตกต่างกันไป บางรายอาจมีอาการซึมเศร้า แต่บางรายอาจมีอาการฉุนเฉียวโมโหง่าย

  • สมองเสื่อมระยะสุดท้าย : ผู้ป่วยในระยะสุดท้าย จะมีอาการภาพหลอน ไม่มีความทรงจำทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งจะไม่สามารถดูแลชีวิตตนเองได้เลย แม้กระทั่งกิจวัตรประจำวันอย่างการทานข้าว และไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ แต่ยังคงเข้าใจ และแสดงเป็นอารมณ์ออกมาแทน ท้ายที่สุดอาจจะเกิดภาวะไร้ซึ่งอารมณ์ อ่อนเพลีย และไม่ค่อยขยับร่างกายจนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง



นวทางการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ด้วยความเข้าใจ

ในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ สิ่งสำคัญที่สุดคนผู้ที่ดูแล ที่ต้องใช้ความเข้าใจเป็นอย่างมาก เพราะผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะต้องการการดูแลที่ไม่ต่างกับเด็ก และอาจจะมีอาการที่รุนแรงในด้านของอารมณ์ ที่อาจทำให้ผู้ดูแลรู้สึกเหนื่อยเป็นพิเศษ ซึ่งมีเรื่องที่ต้องรับมือ ดังนี้ 


  • ปรับการพูดให้ช้าลง และชัดเจนมากขึ้น รวมไปถึงการเรียกชื่อของผู้ป่วยอัลไซเมอร์บ่อย ๆ โดยหลีกเลี่ยงการใช้เสียงดัง ที่อาจส่งผลต่ออารมณ์ของผู้ป่วย

  • การรื้อฟื้นความหลัง จากเรื่องเล่าในอดีตถึงสถานที่ที่เคยไป กิจกรรมที่เคยทำ หรือสิ่งที่ชอบ จะช่วยกระตุ้นความทรงจำของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้

  • พยายามกระตุ้นให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์หัดทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง อย่างเช่น การอาบน้ำ แปรงฟัน กินข้าว และการเข้าห้องน้ำด้วยตัวเอง ตามขีดความสามารถที่ผู้ป่วยจะทำได้ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการป่วยติดเตียง

  • หากิจกรรมให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทำบ้างเมื่อมีโอกาส อย่างการร้องเพลง เล่นเกม หรือถามตอบง่าย ๆ เพื่อปรับอารมณ์ให้ผู้ป่วยไม่เศร้าหมอง หรือหงุดหงิดอยู่ตลอดเวลา 

  • ให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์สวมใส่สร้อย หรือสิ่งของที่พกติดตัวได้ตลอดเวลา พร้อมแนบข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ของญาติผู้ป่วยไว้ ในกรณีที่ผู้ป่วยหายออกจากบ้าน จะได้ตามตัวได้ง่าย

  • คอยสังเกตอาการของผู้ป่วยอัลไซเมอร์อยู่เป็นประจำ หากมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง อย่างอาการซึมเศร้า นอนไม่หลับ หรือหวาดระแวงจากภาพหลอน ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยทันที


โรคอัลไซเมอร์ มีวิธีรักษาไหม

การรักษาโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันนั้นยังไม่มี เพราะอย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า เกิดจากเซลล์ในสมองที่เสื่อมลง จึงไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาเป็นดังเดิมได้ จึงมีเพียงแต่วิธีการประคับประคองให้อาการไม่แย่ลงไปกว่าเดิม หรือแย่ช้าลงเพียงเท่านั้น


การเตรียมตัวในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

เพราะการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เป็นสิ่งที่ต้องใช้พลังกาย และพลังใจเป็นอย่างมาก ผู้ดูแลเองก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับเรื่องนี้ไม่ต่างจากผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จึงไม่ควรละเลยการเตรียมตัวเองให้พร้อมดังนี้ 


  • ทำความเข้าใจโรคอัลไซเมอร์ : อย่างที่ทราบกันไปจากข้อมูลด้านบน การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน จึงต้องทำความเข้าใจอาการต่าง ๆ ให้ครบถ้วน จึงจะไม่เกิดอารมณ์ที่อาจจะพาลไปลงที่ผู้ป่วยเอาได้

  • จัดบ้านให้เป็นระเบียบ : เพราะผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อาจแสดงพฤติกรรมที่ผิดแปลกไป การก็บข้าวของเครื่องใช้ที่เสี่ยงเกิดอันตรายให้เข้าที่ จะเป็นการช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย และคนในบ้านไปพร้อม ๆ กัน

  • ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี : ผู้ดูแลเอง ก็ต้องใส่ใจในเรื่องอาหารการกิน และสุขภาพของตัวเอง เพราะการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์นั้นอาจส่งผลให้เกิดความเครียดกับผู้ดูแลได้

  • วางแผนเรื่องคนดูแลให้ชัดเจน : การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์เพียงคนเดียวนั้นเป็นไปไม่ได้ ต้องวางแผนกับสมาชิกในครอบครัวให้ดี ว่าใครจะผลัดกันดูแลในช่วงเวลาไหนบ้าง จะได้ไม่เป็นการโยนภาระไปที่ผู้ใดผู้หนึ่ง


สรุปบทความรับมืออย่างไร เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

แม้ว่าจะเตรียมตัวรับมือในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ดีแค่ไหน แต่ในระยะยาวก็ยังเป็นเรื่องที่หนักสำหรับทุกครอบครัว ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ Senera Senior Wellness จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์การดูแลอย่างครบครัน พร้อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด หากคุณกำลังมองหาศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีมาตรฐาน สามารถปรึกษาได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ไลน์ @senera หรือโทร. 098-935-6694

ดู 44 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Σχόλια


bottom of page