โรคหลอดเลือดสมองหรือ Stroke เป็นโรคร้ายแรงที่ถ้าหากเกิดขึ้นจะคล้ายกับพรากชีวิตของผู้ป่วยไปแล้วส่วนหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้สูญเสียการเคลื่อนไหวทางร่างกาย สูญเสียการทำกิจวัตรประจำวัน และต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดตามมา ดังนั้นการดูแลผู้ป่วย Stroke จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างถูกต้องจะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
ทำความรู้จักกับ Stroke ในเบื้องต้น
ก่อนที่จะไปเรียนรู้วิธีการดูแลผู้ป่วย Stroke เรามาทำความเข้าใจโรคหลอดเลือดสมองกันก่อน สำหรับ Stroke เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเกิดได้จากหลาย ๆ ปัจจัย ทั้งหลอดเลือดอุดตัน หลอดเลือดตีบ หรือหลอดเลือดแตก ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลให้เนื้อเยื่อภายในสมองถูกทำลาย ทำให้การทำงานของสมองหยุดชะงักลง
อาการ
อาจมีอาการชาหรือล้าที่ใบหน้าและบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล และกลืนอาหารได้ลำบาก
ปวดศีรษะ บางครั้งอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะร่วมด้วย
ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือมองเห็นครึ่งซีก บางคนที่อาการหนักมาก ๆ อาจตาบอดข้างเดียว
เดินเซ ทรงตัวลำบาก
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกได้ 2 กรณีด้วยกัน
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ อายุที่มากขึ้นส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพลง เพราะใช้งานมานาน นอกจากนี้ปัจจัยเรื่องเพศ โดยเฉพาะเพศชายยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้สูงกว่าเพศหญิงอีกด้วย
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ สำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคอ้วน หรือโรคประจำตัวที่ส่งผลกระทบต่อหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำอย่างต่อเนื่องก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน
โรคหลอดเลือดสมองส่งผลต่อร่างกายอย่างไร
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไม่ว่าจะเกิดจากเส้นเลือดในสมองตีบ เส้นเลือดในสมองแตก หรือเส้นเลือดในสมองอุดตัน ซึ่งจะมีอาการอัมพฤกษ์หรือมีอาการอัมพาต ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย และมีปัญหาเกี่ยวกับการพูดการสื่อสาร อีกทั้งยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทางด้านจิตใจ การดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองจึงต้องใช้ความเข้าใจในตัวผู้ป่วยอย่างมาก
การดูแลผู้ป่วย Stroke
หลังจากที่ผู้ป่วยผ่านช่วงวิกฤตมาได้แล้วระยะเวลาที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูสมองและร่างกาย คือช่วงระยะเวลาไม่เกิน 3-6 เดือนแรก หากผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้องจะทำให้ฟื้นตัวได้ไวที่สุด ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยด้วยบุคลากรที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะจะทำให้การฟื้นฟูสมองของผู้ป่วยมีประสิทธิภาพ โดยการดูแลผู้ป่วย Stroke นั้นจะต้องดูแลทั้งทางด้านร่างกายและทางด้านจิตใจไปพร้อม ๆ กัน
ด้านร่างกาย
การดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองทางด้านร่างกาย สามารถทำได้ตั้งแต่การฝึกนั่ง การฝึกยืน การฝึกเดิน การฝึกขึ้น-ลงบันได การเคลื่อนไหวมือและแขน รวมไปถึงการฝึกให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยตัวเอง เช่น การรับประทานอาหาร การฝึกกลืน การสวมใส่เสื้อผ้า การบริหารกล้ามเนื้อ และการฝึกสื่อสารในด้านของการพูดและการฟัง เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อได้ทำงาน ถือเป็นหนึ่งในวิธีการดูแลผู้ป่วย Stroke ที่ช่วยให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเองอีกด้วย
ด้านจิตใจ
การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทางด้านจิตใจ สามารถทำได้โดยการให้กำลังใจผู้ป่วย การให้ความรัก การให้ความเข้าใจ และการจัดกิจกรรมกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ ซึ่งการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทางด้านจิตใจนั้น หากมีการดูแลที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจต่อสู้กับโรค และเกิดความรู้สึกในทางบวก มีกำลังใจอยากใช้ชีวิตต่อไป
สรุป
การดูแลผู้ป่วย Stroke ผู้ดูแลต้องเข้าใจเกี่ยวกับโรคและเข้าใจถึงสภาวะจิตใจของผู้ป่วยอย่างลึกซึ้ง จึงจะสามารถดูแลผู้ป่วยได้ถูกวิธีและเหมาะสมและต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูร่างกายและจิตใจกลับมาแข็งแรง และสามารถใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง
หากคุณต้องการดูแลผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ใกล้ชิดกับบุคลากรทางการแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง Senera Senior Wellness เป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุกรุงเทพ ดูแลผู้สูงอายุรายวันและรายเดือน ที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยหลังผ่านช่วงวิกฤตอย่างครบวงจร เนื่องจากเรามีทีมบุคลากรมากประสบการณ์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางตามมาตรฐานวิชาชีพ คุณจึงสามารถมั่นใจได้เลยว่าที่ Senera Senior Wellness คือสถานที่ที่พร้อมให้การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วย อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในประเทศไทย
Comments