top of page
senerawellness

การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)



การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์นั้น จำเป็นต้องอาศัยความรัก ความเข้าใจจากคนรอบข้างเป็นพิเศษ เพราะความรักและความเข้าใจ จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกอยู่ร่วมกับความรู้สึกของตนเองและรับมือกับอารมณ์ที่ซับซ้อนได้ดี รวมถึงเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตาม ในบทความนี้ จะพาไปดูวิธีดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์อย่างถูกวิธี ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขทั้งกายและใจ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์



เนื่องจากผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ มีความสามารถในการทำกิจวัตรประวันด้วยตัวเองลดลง ผู้ที่อยู่ดูแลผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นการดูแลที่บ้าน สถานพยาบาล หรือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุรายวันก็ตาม


การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ด้านสุขภาพ

วิธีการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ด้านสุขภาพร่างกาย จะประกอบด้วยการดูแลทั้งเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการดูแลสุขภาพในช่องปาก


1.การรับประทานอาหาร



ผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์บางคนอาจจะสูญเสียความอยากอาหารไป หรือดำเนินชีวิตไปแบบ “ลืมหิว” อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีสุขภาพแข็งแรง ดังนั้น ผู้ดูแลจึงควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ดีต่อความทรงจำ เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ธัญพืช เนื้อปลา และเนื้อไก่ เป็นต้น


2.การออกกำลังกาย



การเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงการเต้นแอโรบิคสนุก ๆ เป็นอีกตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มีความกระตือรือร้นมากขึ้น และส่งผลให้ผู้ป่วยมีสุขภาพกายที่แข็งแรงขึ้น นอกจากนี้ การออกกำลังกาย ช่วยลดปัญหาอารมณ์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ไม่ว่าจะเป็น อาการซึมเศร้า วิตกกังวล หรืออาการกระสับกระส่าย


3.การพักผ่อน



การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7-8 ชั่วโมง ช่วยส่งเสริมสุขภาพสมองให้แข็งแรง ดีต่อทุกเพศทุกวัย รวมไปถึงผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้น ผู้ดูแลจึงควรให้ผู้ป่วยเข้านอนเป็นเวลา เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีทั้งทางกาย สมอง และจิตใจ


4.การดูแลสุขภาพช่องปาก




การดูแลสุขภาพเหงือกและสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจากงานวิจัย โรคเหงือกทำให้เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ควรรักษาสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟันเป็นประจำ หรือพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพภายในช่องปากเป็นประจำ


การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ด้านจิตใจ


การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทางกายมีความสำคัญ แต่การดูแลสุขภาพทางใจของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก็มีความจำเป็นไม่ต่างกัน ซึ่งหากผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดี จะทำให้การใช้ชีวิตของผู้ป่วยมีคุณภาพที่ดีตามมา


1.การพูดคุยและสร้างความสัมพันธ์



การพูดคุยและสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เป็นวิธีที่จะทำให้ผู้ป่วยรับรู้ตัวเอง และเป็นการเตือนความจำให้กับผู้ป่วย ซึ่งการพูดคุยสามารถทำได้ดังนี้

  • ให้เรียกชื่อผู้ป่วยเสมอเพื่อเตือนความจำและสร้างความคุ้นเคยให้ผู้ป่วยจำชื่อตัวเองได้

  • พูดช้า ๆ สั้น ๆ และออกเสียงให้ชัดเจนเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

  • ใช้ภาษากาย สิ่งของ หรือภาพประกอบเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์เข้าใจมากขึ้น

  • ให้เวลาผู้ป่วยได้ประมวลสิ่งที่จะพูด หรือให้ตัวเลือกในการตอบคำถามของผู้ป่วย

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อสื่อสารกับผู้ป่วยคือ การตะโกนหรือถกเถียง เพราะอาจจะกระทบต่ออารมณ์ของผู้ป่วยได้

 

2.การกระตุ้นความจำ




การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ นอกจากจะพึ่งความใจเย็นและความเข้าใจแล้ว ผู้ดูแลยังต้องมีความอดทนในการเล่าเรื่องซ้ำ ๆ แก่ผู้ป่วย ซึ่งการเล่าเรื่องของผู้ป่วยให้ผู้ป่วยฟังซ้ำ ๆ จะช่วยทำให้ผู้ป่วยจำเรื่องราวของตนได้ เช่น เรื่องราวในอดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพื่อน เรื่องลูก งานที่เคยทำ ที่ที่เคยไป เป็นต้น


3.การทำกิจกรรม



การทำกิจกรรมนันทนาการกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การเล่นเกม หรือการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ถือเป็นการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการทำกิจกรรมเหล่านี้ จะช่วยชะลออาการสมองเสื่อม และยังสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ป่วยและผู้ดูแลอีกด้วย


4.การยอมรับและเข้าใจ



การแสดงอารมณ์ของผู้ป่วยในหลาย ๆ ครั้งอาจจะทำให้ผู้ดูแลรู้สึกผิดหวัง และไม่สบายใจ อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีอาการเหล่านั้น เป็นเพราะผลจากอาการของโรค ไม่ใช่เพราะผู้ป่วยไม่พึงพอใจ ดังนั้น ผู้ดูแลต้องยอมรับและเข้าใจว่าโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่รักษาไม่หาย และจำเป็นต้องเข้าใจบุคลิกของผู้ป่วยที่ดูแล พร้อมทั้งรับมือแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม


สรุปบทความ



จะเห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต้องอาศัยการยอมรับและเข้าใจลักษณะของโรคและการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ที่อาจจะไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตัวเองอีกต่อไป 

หากคนที่คุณรักเป็นผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ และอยากให้เขาได้รับการดูแลที่ดี ถูกต้องและเหมาะสม Senera Senior Wellness คือ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุกรุงเทพครบวงจร เราให้ความสำคัญกับการใส่ใจดูแลคนที่คุณรัก ยินดีให้คำปรึกษาฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ไลน์ @senera หรือโทร. 098-935-6694

ดู 20 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Commentaires


bottom of page