
แนะนำวิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ ให้กลับมาดีขึ้น

โรคเส้นเลือดในสมองตีบเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด กลืนลำบาก และอาจมีปัญหาด้านความจำ ส่งผลให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เหมือนเดิม จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลคอยช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย บทความนี้ Senera Senior Wellness จะชวนทุกคนมาทำความเข้าใจโรคเส้นเลือกในสมองตีบ พร้อมแนะนำวิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบอย่างถูกต้อง
รู้จักกับอาการเส้นเลือดในสมองตีบ
เส้นเลือดในสมองตีบ (Stroke) เป็นภาวะที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้สมองขาดเลือดและออกซิเจน ส่งผลให้เซลล์สมองตายและสูญเสียการทำงาน วิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบจึงต้องเริ่มตั้งแต่การสังเกตอาการเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และป้องกันไม่ให้สมองได้รับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอย่างถาวร
อาการของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ

- หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว มุมปากตก โดยเฉพาะเวลายิ้มหรือแสดงอารมณ์
- แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ยกแขนไม่ขึ้น หรือชาครึ่งซีก
- พูดไม่ชัด พูดลำบาก หรือพูดไม่ได้ ฟังคนอื่นพูดไม่เข้าใจ
- ตามองเห็นภาพไม่ชัด มองเห็นภาพซ้อน หรือตาข้างใดข้างหนึ่งมืดมัว
- เวียนศีรษะรุนแรง ทรงตัวลำบาก เดินเซ
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรงผิดปกติ
- กลืนอาหารลำบาก สำลักง่าย
แนวทาง วิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ ที่บ้าน
ผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการกำเริบซ้ำได้ วิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบที่บ้านจึงต้องครอบคลุมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มาดูกันว่าต้องมีวิธีการดูแลในแต่ละด้านอย่างไรบ้าง
ดูแลเรื่องยา
การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับวิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ ผู้ดูแลต้องจัดยาให้ตรงเวลาและครบถ้วนตามที่แพทย์สั่ง เพราะยาแต่ละตัวมีหน้าที่สำคัญ ทั้งยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และยาควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ การขาดยาหรือรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีอาการกำเริบซ้ำได้
การทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดเป็นวิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะช่วยฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ป้องกันการเกิดอาการข้อติด และช่วยเพิ่มความแข็งแรง ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบควรกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอตามโปรแกรมที่นักกายภาพบำบัดกำหนด ทั้งการบริหารร่างกาย การฝึกทรงตัว และการฝึกทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น
ดูแลโภชนาการ
การดูแลเรื่องอาหารเป็นส่วนสำคัญในวิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ เพราะการรับประทานอาหารที่มีความเหมาะสมจะช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน ดังนั้นผู้ดูแลควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารมัน เค็ม และหวาน เพิ่มผักและผลไม้ และควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสม ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการกลืน ควรเลือกอาหารที่กลืนง่าย หรือใช้วิธีปั่นอาหารเหลว
การติดตามอาการ

วิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบต้องมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยสังเกตสัญญาณผิดปกติ เช่น อาการอ่อนแรงที่เพิ่มขึ้น ปวดศีรษะรุนแรง ความดันโลหิตที่ผิดปกติ หรือมีไข้ หากพบความผิดปกติต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ยังต้องพาผู้ป่วยไปตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินผลการรักษาและปรับแผนการรักษาตามความเหมาะสม
การดูแลสภาพจิตใจ
ผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบมักมีปัญหาด้านสภาพจิตใจ เนื่องจากความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง อาจรู้สึกท้อแท้ ซึมเศร้า หรือสิ้นหวัง วิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบจึงต้องให้ความสำคัญกับการดูแลจิตใจ ด้วยการให้กำลังใจ รับฟัง เข้าใจ และช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นความก้าวหน้าในการฟื้นฟู เพื่อสร้างกำลังใจในการต่อสู้กับโรค
FAQ

เส้นเลือดในสมองตีบรักษาอย่างไร
การรักษาเส้นเลือดในสมองตีบต้องทำอย่างรวดเร็วภายใน 4-5 ชั่วโมงหลังมีอาการ โดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ หรือในบางกรณีอาจต้องผ่าตัดเพื่อนำลิ่มเลือดออก หลังจากนั้นจะเป็นการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย
โรคเส้นเลือดในสมองตีบรักษาหายไหม
เส้นเลือดในสมองตีบสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ แต่ระดับการฟื้นตัวขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ความเร็วในการได้รับการรักษา และความต่อเนื่องในการฟื้นฟูสมรรถภาพ บางรายอาจฟื้นตัวได้เกือบปกติ
โรคเส้นเลือดในสมองตีบ ห้ามกินอะไร
ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารเค็ม อาหารหวานจัด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาหารเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซ้ำ ควรเน้นรับประทานผักผลไม้ โปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ และอาหารที่มีใยอาหารสูง
สรุป
วิธีดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบต้องทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งการรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด การดูแลโภชนาการ การติดตามอาการ และการดูแลสภาพจิตใจ เพื่อช่วยสุขภาพกลับมาแข็งแรง ผู้ดูแลจึงมีส่วนสำคัญในการดูแล เพราะการดูแลที่ดีจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซ้ำสำหรับครอบครัวใดที่มีผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยติดเตียงไม่มีคนดูแล หรือผู้ป่วยในระดับใด และกำลังมองหาศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วย เพื่อช่วยให้คนที่คุณรักฟื้นตัวได้อย่างเหมาะสม Senera Senior Wellness เรามีความเชี่ยวชาญจากทีมแพทย์มากประสบการณ์ ในการดูแลผู้สูงอายุในทุก ๆ ด้าน ตามมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งมีทั้งการดูแลผู้ป่วยรายวัน หรือศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง สามารถปรึกษาฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ไลน์ @senera หรือโทร. 098-935-6694
