
อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ สัญญาณที่ผู้ดูแลต้องใส่ใจ

อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและทำให้หลาย ๆ คนเกิดความกังวลทั้งตัวผู้สูงอายุและผู้ดูแล ลักษณะที่สังเกตได้คือเท้าและข้อเท้ามีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าปกติ รู้สึกตึง หนัก และอาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย เมื่อใช้นิ้วกดลงบนผิวหนังบริเวณที่บวมแล้วปล่อย จะพบรอยบุ๋มที่ไม่คืนตัวในทันที ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวหรือเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ซึ่งอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงโรคร้ายแรง การเข้าใจสาเหตุและรู้จักสังเกตอาการผิดปกติเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การดูแลและรักษาอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
ลักษณะอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ
อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุเกิดจากการที่มีของเหลวสะสมในเนื้อเยื่อบริเวณเท้ามากผิดปกติ ทำให้เท้าและข้อเท้ามีขนาดใหญ่ขึ้น รู้สึกตึง หนัก และอึดอัด เมื่อใช้นิ้วกดลงบนผิวหนังบริเวณที่บวมแล้วปล่อย จะเกิดรอยบุ๋มที่ไม่คืนตัวทันที ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอาการบวมน้ำ นอกจากนี้รองเท้าคู่เดิมที่ปกติใส่ได้พอดีก็จะรู้สึกคับเกินไป เมื่อสวมถุงเท้าแล้วเกิดรอยรัดบนข้อเท้าและน่อง และบางครั้งผิวหนังบริเวณที่บวมอาจดูตึงเป็นมัน และมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุมักเป็นมากในช่วงเย็นหรือหลังจากนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน และอาจดีขึ้นหลังจากนอนพักหรือยกขาสูง
อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุเกิดจากสาเหตุใด

อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ปัจจัยภายนอกที่ไม่รุนแรงไปจนถึงโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน การเข้าใจสาเหตุต่าง ๆ จะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถจัดการกับอาการได้อย่างเหมาะสม และรู้ว่าเมื่อใดควรพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์
การอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน
อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุที่พบบ่อยเกิดจากการนั่งหรือยืนในท่าเดียวเป็นเวลานาน ซึ่งส่งผลให้การไหลเวียนเลือดและน้ำเหลืองบริเวณขาและเท้าเกิดการชะลอตัว ทำให้ของเหลวไหลลงสู่เท้า แต่กล้ามเนื้อน่องไม่ได้ทำงานบีบไล่ของเหลวกลับสู่หัวใจอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเกิดการคั่งค้างของของเหลวบริเวณเท้าและข้อเท้า
โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ระบบไหลเวียนลดลงตามวัย ทำให้เกิดอาการเท้าบวมได้ง่าย อีกทั้งการอยู่ท่าเดิมนาน ๆ ยังทำให้เกิดอาการปวดขาได้อีกด้วย การหมั่นเปลี่ยนอิริยาบถ ขยับเท้า หรือเดินไปมาจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนและป้องกันอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ ยิ่งมีการออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะช่วยแก้อาการปวดขาได้ด้วย
การดื่มน้ำมากไป
แม้การดื่มน้ำจะเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพ แต่การดื่มน้ำมากเกินไปในช่วงเวลาสั้น ๆ อาจเป็นสาเหตุของอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาการทำงานของไต เมื่อผู้สูงอายุดื่มน้ำปริมาณมากเกินกว่าที่ไตสามารถกำจัดออกได้ทัน ร่างกายจะเก็บน้ำส่วนเกินไว้ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมถึงบริเวณเท้าด้วย นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจหรือไตอยู่แล้ว การดื่มน้ำมากอาจเพิ่มภาระให้กับระบบไหลเวียนและการกรองของไต ทำให้เกิดภาวะน้ำเกินและส่งผลให้เกิดอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุที่รุนแรงขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัวจึงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่เหมาะสมในแต่ละวัน
รับประทานอาหารรสเค็มจัด
อาหารที่มีรสเค็มจัดหรือมีโซเดียมสูงเป็นสาเหตุสำคัญของอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ เนื่องจากโซเดียมมีคุณสมบัติในการดึงน้ำเข้าสู่เซลล์และกระแสเลือด การรับประทานอาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมมากเกินไป ร่างกายจะพยายามรักษาสมดุลด้วยการดึงน้ำออกจากเซลล์เพื่อเจือจางความเข้มข้นของโซเดียมในเลือด ทำให้มีปริมาณน้ำในกระแสเลือดมากขึ้น ซึ่งเมื่อรวมกับแรงโน้มถ่วงและระบบไหลเวียนที่เสื่อมถอยในผู้สูงอายุ น้ำส่วนเกินจะสะสมบริเวณเท้าและข้อเท้า
น้ำหนักตัวมาก
ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ เนื่องจากน้ำหนักที่มากเกินไปส่งผลให้เกิดแรงกดทับต่อหลอดเลือดดำบริเวณขา ทำให้การไหลเวียนเลือดกลับสู่หัวใจเกิดความยากลำบาก เลือดและของเหลวจึงคั่งค้างบริเวณเท้าและข้อเท้า นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักตัวมากยังมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อย ทำให้กล้ามเนื้อน่องที่ช่วยบีบไล่เลือดกลับสู่หัวใจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ ในผู้สูงอายุบางคนยังอาจมีอาการขาอ่อนแรง เดินแล้วล้มได้ง่ายด้วย
อาการบาดเจ็บ
เมื่ออายุมากขึ้นมวลกล้ามเนื้อจะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหว และการทรงตัว ทำให้ผู้สูงอายุอาจเกิดจากการบาดเจ็บบริเวณเท้าหรือข้อเท้าจากการหกล้ม การเดินสะดุดหรือข้อเท้าพลิกได้ง่าย ทำให้เกิดอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ
เมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บ ร่างกายจะตอบสนองด้วยกระบวนการอักเสบ ทำให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดและเพิ่มการซึมผ่านของของเหลวออกจากหลอดเลือดสู่เนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้เกิดอาการบวม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ ผู้สูงอายุมักมีกระบวนการซ่อมแซมที่ช้ากว่าคนวัยหนุ่มสาว ทำให้อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุที่เกิดจากการบาดเจ็บนั้นกินเวลานานกว่าปกติ
โรคบางชนิด
อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรง โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลือดจึงคั่งอยู่ในหลอดเลือดดำและเกิดการรั่วซึมของของเหลวออกมาสะสมที่เท้า
- โรคตับ ที่ทำให้การสร้างโปรตีนอัลบูมิน (Albumin) ลดลง ส่งผลให้การไหลเวียนของเหลวในเลือดลดลงตามไปด้วย ส่งผลทำให้เกิดอาการบวมได้
- โรคไตเรื้อรัง ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการกำจัดน้ำและเกลือ หากไตผิดปกติทำงานบกพร่อง ก็จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการบวมเรื้อรัง
- ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก (DVT) ที่อาจทำให้เกิดอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุเพียงข้างเดียว และมักมาพร้อมกับอาการปวด และผิวหนังเปลี่ยนสี
อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุแบบไหนที่อันตราย

อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุที่ควรระวังและถือเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์โดยเร็ว ได้แก่ อาการบวมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะเมื่อเกิดเพียงข้างเดียว หรืออาการบวมที่มาพร้อมกับอาการปวดรุนแรง ผิวหนังร้อนหรือแดง มีไข้ หรือผิวหนังเปลี่ยนสีเป็นแดงคล้ำหรือซีด
นอกจากนี้ อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุที่มาพร้อมกับอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือใจสั่น ควรได้รับการดูแลฉุกเฉินทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจล้มเหลวหรือลิ่มเลือดอุดตันในปอด โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไต หรือโรคตับ หากพบว่าอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุแย่ลงอย่างรวดเร็ว ควรปรึกษาแพทย์ในทันที
วิธีบรรเทาอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ
- ยกขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ : ควรยกขาสูงประมาณ 15-30 นาที วันละ 3-4 ครั้ง เพื่อช่วยให้ของเหลวที่คั่งค้างไหลกลับสู่หัวใจได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ : ควรเปลี่ยนอิริยาบถทุก 30 นาที หากต้องนั่งนาน ควรลุกขึ้นเดินบ้าง หรือขยับเท้าและข้อเท้าเป็นระยะ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด
- ลดการบริโภคเกลือ : จำกัดอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ
- ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม : คนเราควรดื่มน้ำประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน แต่ในผู้ที่มีโรคหัวใจหรือไต ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดปริมาณนำที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ : เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น การเดิน ว่ายน้ำ หรือการออกกำลังกายในน้ำ ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโดยไม่สร้างแรงกดมากเกินไปบนข้อต่อ
- ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม : หากมีภาวะน้ำหนักเกินการลดน้ำหนักจะช่วยลดแรงกดทับต่อหลอดเลือดในขาและลดอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุได้
- นวดเบา ๆ : การนวดเท้าและขาเบา ๆ จากปลายเท้าไปยังหัวใจช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งช่วยบรรเทาอาการบวมได้
- เลือกรองเท้าที่เหมาะสม : รองเท้าควรใส่สบาย ไม่คับหรือหลวมเกินไป หลีกเลี่ยงรองเท้าส้นสูงที่อาจกดทับหลอดเลือดและเพิ่มอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุ
อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุแบบไหนที่ต้องไปพบแพทย์
แม้ว่าอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุหลายกรณีจะสามารถบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ แต่หากมีอาการเท้าบวมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อมีอาการเท้าบวมเพียงข้างเดียว ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของลิ่มเลือดอุดตัน หรือมีอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุที่มาพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หรือใจสั่น อาจเป็นสัญญาณที่แสดงถึงปัญหาหัวใจที่ร้ายแรง
นอกจากนี้ หากพบว่ามีอาการไข้ร่วมด้วย ผิวหนังบริเวณที่บวมมีสีแดง ร้อน หรือมีอาการเจ็บมาก อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่ต้องได้รับการรักษาในทันที หากพบว่าเท้าบวมมากขึ้นผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด
สรุป
อาการเท้าบวมในผู้สูงอายุเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีสาเหตุหลากหลาย การหมั่นสังเกตลักษณะของอาการบวม จะช่วยบ่งชี้ถึงความรุนแรงได้ การดูแลอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุอย่างเหมาะสมไม่เพียงช่วยให้อาการเท้าบวมดีขึ้น แต่ยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ ผู้ดูแลและตัวผู้สูงอายุเองจึงควรใส่ใจและไม่ละเลยต่ออาการดังกล่าว
สำหรับใครที่มีปัญหาอาการเท้าบวมในผู้สูงอายุอย่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการลุกลามรุนแรง หากสนใจอยากบรรเทาอาการต่าง ๆ สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ Senera Senior Wellness เพื่อรับคำปรึกษาและบริการที่เหมาะสมกับความอาการของคุณ ยินดีให้คำปรึกษาฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ไลน์ @senera หรือโทร. 098-935-6694
